วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่าย



"ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้" เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) ที่คุณผู้อ่านจะได้พบต่อไปนี้ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิม์คนละประเภท) 2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์ก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษาและบ้านไปแล้วการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ ต้องใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐาน ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์ ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ1. LAN (Local Area Network)ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ2. MAN (Metropolitan Area Network)ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก3. WAN (Wide Area Network)ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)ประเภทของระบบเครือข่ายPeer To Peerเป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware
Client / Serverเป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topologyระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย



วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทความการสื่อสาร


การสอนเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น ผู้สอนไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่หรือครู จะเกิดความพอใจถ้าลูกหรือลูกศิษย์ปฏิบัติตามสิ่งที่สอน แต่บางครั้งพ่อ แม่ หรือครูก็เกิดความผิดหวังเมื่อลูก/ผู้เรียนไม่กระตือรือร้น ไม่ปฏิบัติตาม หรือไม่ปรารถนาที่จะเรียนรู้ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่กับลูก ครูกับลูกศิษย์ การที่จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนอันจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ และเด็กได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพนั้น ต้องอาศัยสะพานเชื่อมโยงระหว่างบุคคลสองฝ่าย ซึ่งก็คือ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเอง
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) ของโธมัส กอร์ดอน (Thomas Gordon) เป็นวิธีปฏิสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ที่สื่อสารกับเด็กด้วยการให้ความเคารพต่อความรู้สึกและความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็ก โดยผู้ใหญ่ใช้การสื่อสารกับเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาด้วยตนเอง การสื่อสารวิธีนี้จัดอยู่ในหลักการของการให้ความเคารพซึ่งกันและกันด้านการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ใหญ่กับเด็ก ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง ตามแนวคิดของกอร์ดอน สิ่งที่สำคัญในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ คือ การกำหนดพฤติกรรมที่ยอมรับได้และพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับ ต่อมาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นผู้ใหญ่ก็สามารถจะตรวจสอบสถานการณ์และตัดสินใจได้ว่าใครเป็นเจ้าของปัญหา บางปัญหาก็เป็นปัญหาของเด็ก บางปัญหาก็เป็นปัญหาของผู้ใหญ่ และบางปัญหาก็เป็นปัญหาของเด็กและผู้ใหญ่ วิธีในการดำเนินการกับปัญหาจะขึ้นอยู่กับการเป็นเจ้าของปัญหา งานหลักสำหรับวิธีการนี้ คือ การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลแต่ละคนและภายในกลุ่ม การช่วยให้เด็กรู้ถึงศักยภาพของตน และมองตัวเองในทางบวก
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. การรับฟังปัญหาและสะท้อนความรู้สึกของเด็ก (Active Listening) ในกรณีที่เด็กเป็นเจ้าของปัญหา ผู้ปกครองและครูควรรับฟังปัญหาของเด็กด้วยจิตใจที่ว่าง ปลอดจากเรื่องราวต่าง ๆ มองปัญหาในมุมมองของเด็ก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเด็ก มีปฏิสัมพันธ์กันแบบตัวต่อตัว มองหน้าและสบตากันในระดับเดียวกัน สนใจฟังและพยายามจำแนกความรู้สึกของเด็กให้ออก ใช้คำพูด ทบทวน ย้ำเกี่ยวกับความรู้สึกหรือความหมายที่แฝงอยู่ในการสื่อสารที่ผู้ใหญ่สามารถสำรวจพบจากการสื่อสารของเด็ก โดยสะท้อนข้อมูลทั้งความรู้สึกและเหตุผลย้อนกลับไปให้เด็กเกิดความเข้าใจในเหตุผลและความรู้สึกที่แท้จริง หลังจากนั้นผู้ใหญ่อาจช่วยให้เด็กแสวงหาวิถีทางในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจมีหลายวิธีที่จะทำได้ สนับสนุนให้เด็กได้เลือกวิถีทางที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด ซึ่ง การรับฟังปัญหาและสะท้อนความรู้สึกของเด็กเป็นการแสดงการยอมรับเด็กและส่งเสริมให้เด็กเปิดเผยความจริงที่เป็นสาเหตุให้เด็กไม่สบายใจ การฟังและช่วยสะท้อนความรู้สึกของเด็กจะช่วยให้เด็กรู้ถึงปัญหาของตนเองและหาทางแก้ปัญหาของตนเอง ขอยกตัวอย่างการใช้การรับฟังปัญหาและสะท้อนความรู้สึกของเด็ก ดังนี้
อาร์ม : วันนี้โอไม่เล่นกับผม แล้วก็ไม่ตามใจผมด้วย
แม่ : ลูกโกรธโอที่ไม่ยอมเล่นด้วยใช่ไหมจ๊ะ
อาร์ม : ใช่ครับ ผมจะไม่มีวันยอมเล่นกับเขาอีกต่อไป ผมไม่อยากให้เขาเป็นเพื่อนผมหรอก
แม่ : ลูกคงต้องถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว
อาร์ม : จริงด้วย ผมคงต้องหาทางคืนดีกับโอ แต่มันก็อดโมโหโอไม่ได้
แม่ : อ๋อ ลูกอยากเข้ากับโอให้ดีกว่านี้ แต่ลูกก็อดโมโหไม่ได้
อาร์ม : ใช่ครับ เมื่อก่อนเขาทำตามที่ผมสั่งเสมอ แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นยังไง เขาไม่ยอมทำตามใจผมเลย
แม่ : ตอนนี้โอไม่ยอมทำตามใจลูกเลย
อาร์ม : เขาไม่ยอมฟังอะไรเลย คงเพราะเขาโตขึ้น ไม่ใช่เด็กอย่างเมื่อก่อน แต่เขาก็เล่นสนุก กว่าเมื่อก่อนมาก
แม่ : ลูกชอบโอตรงที่เขาเล่นสนุกกว่าเมื่อก่อน ใช่ไหมจ๊ะ
อาร์ม : ครับ แหมแต่ไม่ให้ผมสั่งให้โอทำตามเสียเลยมันยากนะแม่ ผมเองก็ชินเสียแล้ว บางที
ผมว่านะ คงจะดีนะแม่ ถ้าผมจะตามใจโอบ้าง แม่ว่าวิธีนี้จะได้ผลไหมครับ
แม่ : ลูกคิดว่ายอมตามใจโอบ้าง ก็จะได้ไม่ทะเลาะกัน ใช่ไหมจ๊ะ
อาร์ม : ครับ อาจได้ผลนะครับแม่ ผมจะลองวิธีนี้ดู

2. การสะท้อนความรู้สึกและปัญหาของตนเอง (I message) เมื่อผู้ใหญ่เป็นเจ้าของปัญหาก็จะใช้อีกเทคนิคหนึ่ง คือเทคนิคการสะท้อนความรู้สึกและปัญหาของตนเอง เป็นวิธีการของผู้ใหญ่ที่สะท้อนกลับไปหาเด็กด้วยคำพูดให้เด็กฟังอย่างชัดเจนว่า พฤติกรรมนั้นๆของเด็กก่อปัญหาให้กับผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่รู้สึกอย่างไรต่อพฤติกรรมนั้น เป็นการกล่าวที่เด็กรับรู้ว่าเด็กคือบุคคลที่จะแก้ปัญหานั้น เพราะเป็นการเชิญให้เด็กมาร่วมแก้ปัญหามากกว่าการบอกสิ่งที่ต้องการให้เด็กกระทำ และหลีกเลี่ยงการทำร้ายเด็กหรือการทำลายความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่กับเด็ก เพราะเป็นการเชื้อเชิญให้เด็กช่วยแก้ปัญหา จะเป็นการแก้ปัญหาที่ยอมรับซึ่งกันและกัน การสื่อสารวิธีนี้จึงทำให้ผู้ฟังรับฟังด้วยความเต็มใจมากกว่าที่จะโต้แย้งหรือปกป้องตนเององค์ประกอบในการใช้เทคนิคการสะท้อนความรู้สึกและปัญหาของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1 พฤติกรรม : เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา 2.2 ความรู้สึก : เป็นการกล่าวถึงความรู้สึกของตนเอง 2.3 สาเหตุของความรู้สึก : เป็นการอธิบายสาเหตุที่ทำให้ตนเองเกิดความรู้สึกเช่นนั้น
จากพฤติกรรมนั้น ขอเสนอตัวอย่างการใช้การสะท้อนความรู้สึกและปัญหาของตนเอง จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่มีลูกชายวัย 6 ขวบที่ลูกเดินย่ำโคลนเข้ามาในห้องรับแขกที่คุณแม่เพิ่งจะทำความสะอาดไป คุณแม่ท่านนี้ได้ใช้คำพูดสะท้อนความรู้สึกและปัญหาของตนเองกับลูกว่า แม่รู้สึกหงุดหงิดมาก ที่เห็นพื้นสกปรกเพราะแม่เพิ่งทำความสะอาดไปเมื่อสักครู่
ผลที่ได้รับคือลูกชายรู้สึกว่าตนเองผิดรีบถอดรองเท้าแล้วไปเอาผ้ามาเช็ดพื้น โดยที่คุณแม่ไม่ต้องสั่ง คุณแม่ท่านอื่นๆ ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะคะ 3. การสะท้อนความรู้สึกและแก้ปัญหาร่วมกัน (A process of no-lose problem solving) ใช้ในกรณีที่เด็กและผู้ใหญ่เป็นเจ้าของปัญหาร่วมกัน โดยการอภิปรายปัญหาเสนอความคิดเห็นและเจรจาต่อรองจนกระทั่งทุกคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพบการแก้ปัญหาที่เป็นที่พึงพอใจซึ่งกันและกัน การฟังเด็กและฟังความรู้สึกของเด็กอย่างเอาใจใส่เป็นการแสดงความเข้าใจและยอมรับปัญหาของเด็ก การให้โอกาสเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชั้นเรียนเป็นการแสดงความเคารพต่อเด็ก ขอยกตัวอย่างการสะท้อนความรู้สึกและแก้ปัญหาร่วมกัน ดังนี้ ขลุ่ยกำลังตกแต่งทรายที่เขาก่อขึ้นอย่างระมัดระวัง แคนเล่นรถขุดทรายอยู่ใกล้ๆโดยทำเสียงดังฉึกฉักๆแล่นไปรอบๆ กะบะทราย และพยายามขุดทรายทั้งหมดไปที่ขอบกะบะทราย ขลุ่ยบ่นว่ารถขุดทรายทำให้ทรายที่เขาก่อไว้พังลงมา แม่สังเกตและเดินไปหา แม่พูดว่า “ ลูกจำสิ่งแรกที่เราจะต้องทำเพื่อแก้ปัญหาได้หรือไม่ ” ขลุ่ยและแคนตอบพร้อมกัน “ ระดมสมอง ” แคนเสนอความเห็นว่า “ แบ่งทรายเท่าๆ กัน ” ขลุ่ยเสนอว่า “ เรากำหนดรอบที่มาเล่นที่กะบะทราย ” แคนพูดต่อ “ เรามาสร้างกำแพงเมืองจีนกัน ” ขลุ่ยเสนอวิธีสุดท้าย “ ให้แคนเล่นทรายด้วยกรวยแทนรถขุดทราย ” แม่ให้เด็กช่วยกันประเมินแต่ละวิธี ขลุ่ยและแคนคิดว่าการแบ่งทรายเท่าๆ กันได้ทรายน้อยเกินไป ส่วนการผลัดกันเล่น ไม่มีใครต้องการเล่นเป็นคนที่สอง และแคนไม่สนใจที่จะใช้กรวยเล่นทราย แต่ขลุ่ยและแคนสนใจการสร้างกำแพงเมืองจีนและสามารถเล่นร่วมกัน... กล่าวโดยสรุป การสื่อสารและปฏิบัติต่อกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน เป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้เด็กได้รู้จักตนเอง รู้จักปัญหาของตนและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง คุณพ่อ คุณแม่ และคุณครูจะไม่ลองใช้การสื่อสารกับเด็กๆ ด้วยวิธีการเช่นนี้บ้างหรือคะ

อ้างอิงhttp://dusithost.dusit.ac.th/~pre_edu/article/article1.html

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จักรยานขึ้นภูเรือ

เดือนก.ค.โรงเรียนจะพาสมาชิกl.t.c.ไปภูเรือเพื่อไปเที่ยว